การล้างทำความสะอาดในโรงงานผลิตเครื่องดื่ม โรงนม

การออกแบบระบบ CIP ที่ดี จะเป็นหนึ่งใน Key success ที่สำคัญสำหรับกระบวนการล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อที่ดี โดยปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงมีดังนี้
1.Mechanical energy
 แรงกระทำในกระบวนการล้างทำความสะอาดในระบบ CIP ได้แก่ อัตราการไหลของของเหลวที่วิ่งผ่านท่อ ซึ่งระบบ CIP
ต้องการให้ของเหลวที่วิ่งผ่านท่อมีลักษณะการไหลแบบ Turbulant เพื่อให้สามารถล้างทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.Chemical single used program หรือการล้างทำความสะอาดแล้วนำมาเก็บล้างในครั้งถัดไป
1.Chemical single used program
การเลือกใช้โปรแกรมการล้างแบบ Single used มักจะใช้อยู่ใน 2 ลักษณะ คือ
1.1 ใช้กับไลน์ผลิตที่เป็นขนาดกลางหรือขนาดเล็ก และมีความถี่ในการล้างทำความสะอาดไม่มาก อาทิเช่น ล้างวันละ 1 ครั้ง ซึ่งผู้ผลิตมักจะใช้ถังที่ใช้ในการผลิตเป็นตัวผสมน้ำยาที่ใช้ในการ CIP แล้วทำการจ่ายน้ำยาไปยังถังและท่อผ่านปี๊มที่ Product วิ่งผ่าน แล้วใช้การต่อสายยางหรือท่อกลับมายังถังเดิม

รูปที่ 1 ตัวอย่างการหมุนเวียน CIP แบบพื้นฐาน

 

เพื่อให้กระบวนการ CIP สามารถควบคุม Contact time ให้มีความเหมาะสม

สารเคมีทำความสะอาดที่จะใช้ล้างแบบ Single used ควรเลือกใช้สารเคมีประเภทด่างผสมคลอรีน (Chlorinated alkaline) อาทิเช่น C-kaline ซึ่งเป็นสารที่มีประสิทธิภาพการล้างสูงและใช้อุณหภูมิในการ CIP ที่ 55-60 ‘C
หรือหากต้องการประหยัดพลังงานก็ยังสามารถใช้ที่อุณหภูมิห้องได้ แต่ต้องมีการปรับความเข้มข้นของสารทำความสะอาดให้มีความเหมาะสมด้วย หลังจากเสร็จสิ้นการทำความสะอาด ให้ทำการฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่ม Peroxy acetic acid อาทิเช่น Oxisan ที่ความเข้มข้น 0.2-0.4% หมุนวนที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลาประมาณ 5 นาที เพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่หลงเหลืออยู่
ขั้นตอนการล้าง
สารเคมี
ระยะเวลา (นาที)
อุณหภูมิ (‘C)
ไล่เศษผลิตภัณฑ์
5
25’
หมุนวนด้วยด่าง
C-kaline 1-2 %
30-45
55-60’
ล้างด้วยน้ำสะอาด
5-10
25’
ฆ่าเชื้อ
Oxisan 0.2-0.4%
5
25’
1.2 ใช้กับบริเวณการผลิตที่มีความร้อนสูง อาทิเช่น ไลน์ Pasteurizer หรือ UHT  ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่จะมีคราบสกปรกสะสมค่อนข้างมากและต้องใช้โปรแกรมสารเคมีในการล้างทำความสะอาดแตกต่างจากพื้นที่อื่น โดยสารเคมีที่ใช้จะประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นด่างความเข้มข้นสูงอาทิเช่น HT-20 และมีการเติมสารช่วยล้างเชิงซ้อน Complexing agent อาทิเช่น FL-7 เพื่อช่วยให้ล้างทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในเครื่องจักรทั้ง 2 ชุดที่กล่าวถึงไม่จำเป็นต้องมีกระบวนการในการฆ่าเชื้อด้วยสารเคมี เนื่องจากก่อนเริ่มกระบวนการผลิตต้องมีการให้ความร้อนกับเครื่องจักรที่อุณหภูมิสูงอยู่แล้ว

ขั้นตอนการล้าง
สารเคมี
ระยะเวลา (นาที)
อุณหภูมิ(‘C)
ไล่เศษผลิตภัณฑ์
5
25’
หมุนวนด้วยด่าง
HT-20 5% + FL7 1%
30-45
80-85’
ล้างด้วยน้ำสะอาด
5-10
25’
2.Chemical re-used program
ระบบการใช้สารเคมี CIP แบบนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นหนึ่งในวิธีการที่นิยมใช้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการประหยัดการใช้สารเคมีในการล้างทำความสะอาด และสามารถล้างได้ทันทีเมื่อกระบวนการผลิตบางส่วนเสร็จสิ้น เหมาะกับไลน์ผลิตอาหารที่มีการล้างด้วย CIP หลายครั้งในแต่ละวันหรือมี CIP volume ในการล้างที่ค่อนข้างใหญ่เช่น มากกว่า1,000 ลิตร การออกแบบระบบ CIP ที่ใช้ จะต้องมีถังขนาดใหญ่ที่สามารถนำน้ำยา CIP ที่ใช้ในการล้างทำความสะอาดเสร็จแล้วมาเก็บไว้แล้วเมื่อจะทำการล้างครั้งต่อไป ระบบจะทำการเติมเคมีทดแทนส่วนที่หายไปจากการล้างครั้งก่อน ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 10-15% เมื่อเทียบกับการที่ต้องเตรียมใหม่ทุกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น สำหรับระบบที่มี CIP volume อยู่ประมาณ 2,000 ลิตร
      – ในการเตรียมน้ำยาครั้งแรก ใช้สารเคมีที่ 40 กิโลกรัม เพื่อให้ได้ความเข้มข้น 2% W/W
      – หลังจากนำไปใช้ล้างเสร็จแล้ว ความเข้มข้นสารเคมีลดลงไปที่ 10-15% หรือหายไปประมาณ 4-6 กิโลกรัม
      – เมื่อต้องการใช้น้ำยาอีกครั้งที่ความเข้มข้นเดิม จะเติมน้ำยาลงไปเพิ่มที่ 4-6 กิโลกรัมเท่านั้น หากใช้เป็นแบบ Single used จะต้องใช้ปริมาณน้ำยาที่ 40 กิโลกรัมทุกครั้งเมื่อต้องการล้าง ซึ่งสามารถประหยัดปริมาณสารเคมีในการ CIP แต่ละครั้งค่อนข้างมาก แต่จะต้องมีการลงทุนกับการวางระบบเพื่อให้สามารถใช้งานใน Concept ของ Chemical re-used program ได้

ขั้นตอนการล้าง
สารเคมี
ระยะเวลา (นาที)
อุณหภูมิ (‘C)
ไล่เศษผลิตภัณฑ์
5
25’
หมุนวนด้วยด่าง
HT-20 2 %
30-45
80-85’
ล้างด้วยน้ำสะอาด
5-10
25’
ฆ่าเชื้อ
Oxisan 0.2-0.4%
5
25’
ในไลน์ผลิตเครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์จากนม แม้ว่ากระบวนการล้างทำความะอาดหลักจะเป็นการล้างด้วยวิธีการ CIP เนื่องจากพื้นที่ที่เป็น Food contact surface จะเป็นท่อ ถังต่างๆที่ใช้ในการผลิต แต่จะมีอีกหนึ่งวิธีการที่จะใช้ช่วยล้างทำความสะอาด External surface อาทิเช่น ภายนอกถังต่างๆ เครื่อง Cooling tunnel หรือเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนอย่างเครื่องบรรจุ นั่นก็คือกระบวนการฃ้างทำความสะอาดแบบโฟมคลีนนิ่ง (Foam cleaning)
การล้างทำความสะอาดด้วยระบบโฟมคลีนนิ่ง
เป็นเทคโนโลยีการล้างที่จะเข้าช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากการล้างด้วยโฟมจะสามารถเข้าถึงซอกมุมต่างๆหรือจุด Dead end ได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยหลักในการเพิ่ม Contact time ของสารเคมีและสามารถเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่ต้องใช้การขัดถูในการล้างทำความสะอาด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

อุปกรณ์ที่ใช้

เครื่องฉีดโฟม Model NTM-02D : Portable Foamer tank 20L เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้สามารถทำการฉีดล้างแบบโฟมได้แบบง่ายดาย โดยทำการเติมน้ำ+น้ำยาโฟม
 ตามความเข้มข้นที่ต้องการ เช่น ผสมน้ำยาโฟม 400 ml.ต่อน้ำ 20L (ความเข้มข้น 2%) แล้วทำการต่อลมที่แรงดัน  4 Bars
 ก็จะสามารถฉีดพ่นเพื่อทำความสะอาดแบบโฟมได้
ขั้นตอนการล้าง
สารเคมี
ระยะเวลา (นาที)
อุณหภูมิ (‘C)
หมายเหตุ
ไล่เศษผลิตภัณฑ์
5
25’
ฉีดล้างด้วยโฟม
FC-75 2-5 %
10-15
25’
สำหรับล้างคราบไขมัน โปรตีน
FC-50 2-5%
10-15
25’
สำหรับล้างคราบตะกรัน
ล้างด้วยน้ำสะอาด
5
25’
ฆ่าเชื้อ
Q-san M 0.2-0.4%
10-15
25’
error: Content is protected !!